ข้อมูลทรัพยากร


คริสตศิลป์กระจกสี โบสถ์คริสต์ในไทย : ความหมาย สัญลักษณ์ ภาพคริสต์ประวัติและนักบุญ
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ/สถานที่เก็บ : -
หมวด : ความรู้ทั่วไป
เลขหมู่หนังสือ : 748.5
สำนักพิมพ์ : -
ผู้แต่ง : ปติสร เพ็ญสุต
จำนวนคงเหลือ : [field_a07d2f19]
จำนวนทั้งหมด : 1


เนื้อหาย่อ :

การประดับตกแต่งที่โดดเด่นอย่างมากในโบสถ์ของศาสนาคริสต์คือ "กระจกสี" (Stained glass) ซึ่งเป็นงานฝีมือที่สืบทอดต่อกันมานับพันปี จนกลายสิ่งที่อยู่คู่กับโบสถ์คริสต์ทั่วโลก รวมถึงโบสถ์คริสต์ในไทยด้วย กระจกสี คือ แผ่นกระจกที่ได้รับการย้อมสี เมื่อต้องกับแสงจะทำให้เห็นภาพสว่างไสว สีสันสวยงาม ซึ่งมักสร้างให้มีลวดลายต่างๆ หรือออกแบบให้เป็นภาพบุคคล นักบุญ และภาพเล่าเรื่องคริสต์ประวัติ ภาพเหล่านี้ล้วนมีความหมายลึกซึ้ง และแฝงไปด้วยระบบสัญลักษณ์จำนวนมาก หนังสือเล่มนี้จะพาผู้อ่านท่องไปในโลกของกระจกสี และเรียนรู้ความหมายของกระจกสีเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งติดตั้งอยู่ในโบสถ์คริสต์สำคัญของไทยจำนวน 7 แห่ง พร้อมศรชี้นำชมที่เข้าใจง่าย โบสถ์คริสต์ทั้ง 7 แห่ง ประกอบด้วย วัดคอนเซ็ญชัญ กรุงเทพฯ, วัดนักบุญฟรังซิล เซเวียร์ สามเสน กรุงเทพฯ, วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา, วัดพระคริสตหฤทัย ราชบุรี, อาสนวิหารแม่พระบังเกิด สมุทรสงคราม, อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี และ วัดอัครเทวดามีคาแอล ดอนกระเบื้อง ราชบุรี