เนื้อหาอีบุ๊ค
‘1984’ เป็นวรรณกรรมการเมืองที่คลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่อง และกลวิธีการประพันธ์
ที่ทั่วโลกยอมรับอีกเล่มหนึ่งของ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งโดดเด่นและเข้มข้นจริงจัง
รวมทั้งสำนวนการเขียนที่เสียดสีการปกครองอย่างสุดขีด โดยสร้างภาษาใหม่ด้วยการเล่นคำ
ให้ผู้อ่านได้พึงใจกับนัยภาษาอย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่าภาษา ‘นิวสปีก’
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในแต่ละคำนั้นนอกจากต้องการสื่ออย่างมีนัยและเน้นหนักแล้ว
ยังแฝงด้วยอารมณ์เสียดสี เยาะหยัน และขัดแย้งไว้ด้วย เช่น พี่เบิ้ม (Big Brother),
คิดสองชั้น (Doublethink), อาชญากรรมความคิด (Thoughtcrime), 2 + 2 = 5
และ หลุมความทรงจำ (Memory hole) เป็นต้น
‘1984’ เป็นบันเทิงคดีการเมืองที่ดำเนินเรื่องภายใต้การสอดแทรกเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์
ด้วยนวัตกรรมแปลกใหม่ เช่น จอโทรภาพที่สามารถรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้ในเวลาเดียวกัน
เครื่องเขียนตามคำบอก เครื่องประพันธ์ร้อยกรอง และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย
ที่ใช้ในการแก้ไขบิดเบือนความจริง รวมทั้งเครื่องมือในการทรมานนักโทษด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ในยุค 1984 จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้
หากทว่าความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่นั้นกลับล้าหลัง สกปรก อัตคัด แร้นแค้น
มีการแบ่งระดับชนชั้นอย่างชัดเจน ผู้ใต้ปกครองจะถูกกดทับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทุกประการโดยสิ้นเชิง
ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่าน การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น การตั้งคำถาม การรับสื่อ
หรือแม้กระทั่งการร่วมกิจกรรมทางเพศ
‘1984’ ถูกคัดเลือกให้เป็นหนังสือหนึ่งในร้อยนวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดของนิตยสารไทม์
ช่วงปี ค.ศ. 1923-2005 รวมทั้งยังเป็นงานวรรณกรรมที่โมเดิร์นไลบรารี
จัดให้เป็นลำดับที่ 13 ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่อง (Modern Library 100 Best Novels)
ในบรรดานวนิยายของคริสต์ศตวรรษที่ 20
‘1984’ เป็นวรรณกรรมการเมืองที่คลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่อง และกลวิธีการประพันธ์
ที่ทั่วโลกยอมรับอีกเล่มหนึ่งของ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งโดดเด่นและเข้มข้นจริงจัง
รวมทั้งสำนวนการเขียนที่เสียดสีการปกครองอย่างสุดขีด โดยสร้างภาษาใหม่ด้วยการเล่นคำ
ให้ผู้อ่านได้พึงใจกับนัยภาษาอย่างเป็นทางการ ที่เรียกว่าภาษา ‘นิวสปีก’
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในแต่ละคำนั้นนอกจากต้องการสื่ออย่างมีนัยและเน้นหนักแล้ว
ยังแฝงด้วยอารมณ์เสียดสี เยาะหยัน และขัดแย้งไว้ด้วย เช่น พี่เบิ้ม (Big Brother),
คิดสองชั้น (Doublethink), อาชญากรรมความคิด (Thoughtcrime), 2 + 2 = 5
และ หลุมความทรงจำ (Memory hole) เป็นต้น
‘1984’ เป็นบันเทิงคดีการเมืองที่ดำเนินเรื่องภายใต้การสอดแทรกเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์
ด้วยนวัตกรรมแปลกใหม่ เช่น จอโทรภาพที่สามารถรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้ในเวลาเดียวกัน
เครื่องเขียนตามคำบอก เครื่องประพันธ์ร้อยกรอง และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย
ที่ใช้ในการแก้ไขบิดเบือนความจริง รวมทั้งเครื่องมือในการทรมานนักโทษด้วย
อย่างไรก็ดี แม้ในยุค 1984 จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้
หากทว่าความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่นั้นกลับล้าหลัง สกปรก อัตคัด แร้นแค้น
มีการแบ่งระดับชนชั้นอย่างชัดเจน ผู้ใต้ปกครองจะถูกกดทับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทุกประการโดยสิ้นเชิง
ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่าน การรับรู้ การแสดงความคิดเห็น การตั้งคำถาม การรับสื่อ
หรือแม้กระทั่งการร่วมกิจกรรมทางเพศ
‘1984’ ถูกคัดเลือกให้เป็นหนังสือหนึ่งในร้อยนวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดของนิตยสารไทม์
ช่วงปี ค.ศ. 1923-2005 รวมทั้งยังเป็นงานวรรณกรรมที่โมเดิร์นไลบรารี
จัดให้เป็นลำดับที่ 13 ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่อง (Modern Library 100 Best Novels)
ในบรรดานวนิยายของคริสต์ศตวรรษที่ 20